ปฏิทิน
วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
แอปเปิ้ล
ลักษณะทั่วไปของแอปเปิ้ล
เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดสูงประมาณ 15 เมตร มีขนนุ่มปกคลุมที่กิ่งก้านใบ เป็นใบเดี่ยว ค่อนข้างใหญ่มีรอยหยักคล้ายฟันเลื่อยยาวประมาณ 9-25 ซม. กว้างประมาณ 5-14 ซม.
ดอก ออกเป็นช่อ คล้ายร่ม กลีบดอกสีขาวหรือชมพู มีดอกประมาณ 3-7 ดอกต่อหนึ่งช่อ แต่ละดอกมีกลีบดอก 5 กลีบ มีเกสรตัวผู้อยู่เป็นจำนวนมาก
ผล รูปร่างกลม ผลมีมีรอยบุ๋มบริเวณขั้วและก้น
สรรพคุณและประโยชน์ของแอปเปิ้ล
- รักษาความดันให้เป็นปกติ : รับประทานแอปเปิ้ลปอกเปลือกทุกวัน วันละ 3 ผล
- ลดระดับน้ำตาลในเลือด : รับประทานแอปเปิ้ลครั้งละ 2 ผล วันละ 2 ครั้ง (วันละ 4 ผล) เป็นเวลา 3 วัน
- ท้องร่วงอย่างอ่อน : ใช้เนื้อแอปเปิ้ล สับละเอียด จำนวนพอเหมาะ รับประทานติดต่อกัน 2 วัน ระบบขับถ่ายจะคืนสู่ปกติ
- คลื่นไส้ มีเสมหะ : ใช้เปลือกแอปเปิ้ลสด 15-30 กรัม ต้มกับน้ำ กรองเอากากทิ้ง ดื่มเมื่อมีอาการ
- แก้อาการแพ้ท้อง : ใช้เนื้อแอปเปิ้ล 30-60 กรัม คั่วกับข้าว 30 กรัม จนเหลือง ชงดื่มแทนชา
องุ่น
ลักษณะทั่วไปขององุ่น
เป็นไม้เลื้อย เนื้อแข็ง กิ่งก้านเล็ก เลื้อยเกาะด้วยมือพันใบ กลม ขอบหยักเว้าลึก 3 -7 พู โคนใบเหว้าหัวใจ
ดอก ออกเป็นช่อแยกแขนง ดอกย่อยขนาดเล็กสีเขียว โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยก 5 กลีบ
ผล ออกเป็นพวง ผลย่อยรูปกลมรี ฉ่ำน้ำ ผิวมีนวลเกาะ รสหวาน มีสีเขียว ม่วงแดง และม่วงดำ แล้วแต่พันธุ์ มี 1 - 4 เมล็ด ปัจจุบันมีการผลิตองุ่นไร้เมล็ด แต่ผลค่อนข้างเล็ก
สรรพคุณและประโยชน์ขององุ่น
- รักษาแผลสด ห้ามเลือด : ใบสด หรือเมล็ด ตำพอก
- ยาระบายอ่อน ๆ : ลูกเกด ชนิดสีดำ 1 ช้อนโต๊ะเติมน้ำสุกพอท่วม แช่ทิ้งไว้ข้ามคืนในตอนเช้า กินทั้งน้ำและเนื้อ
- แก้ไข้ : ลูกเกด แช่น้ำให้นิ่ม ตำคั้นเอาแต่น้ำ ผสมน้ำคั้นจากมะขามป้อม อย่างละเท่า ๆ กัน กินครั้งละ 1 - 2 ช้อนโต๊ะ
- ยาแก้ไอ : ลูกเกด ตำให้แหลก 1 ถ้วย ดอกดีปลีแห้งบดเป็นผง ครึ่งถ้วย น้ำตาลกรวดบดละเอียด 2 ถ้วย เคี่ยวรวมกันจนเหนียว ยกลงตั้งไว้ให้เย็น เติมน้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ กินครั้งละ 1 - 2 ช้อนชา วันละ 2 ครั้ง เช้า - เย็น
- โรคตับอักเสบ ดีซ่าน และอาการปวดจากข้ออักเสบ สตรแพ้ท้อง มีอาการบวมน้ำ ปัสสาวะขัด : ใช้รากองุ่นสด 30-90 กรัม ต้มรับประทานน้ำ
- โลหิตจาง เวียนศรีษะ ใจสั่น : ดื่มเหล้าองุ่น จำนวนพอเหมาะ วันละ 2-3 ครั้ง เป็นประจำ
- ปวดตามข้อ : ใช้รากองุ่นสด 60-90 กรัม ล้างให้สะอาด สับให้ละเอียด ใส่รวมกับกีบเท้าหมู 1 ข้าง ผสมน้ำกับเหล้า จำนวนเท่ากัน ต้มหรือ ตุ๋น รับประทาน
สับปะรด
ลักษณะทั่วไปของสับปะรด
เป็นพืชล้มลุกอายุหลายปี สูง 90-100 ซม. มีลำต้นอยู่ใต้ดิน
ใบ เดี่ยว เรียงสลับซ้อนกันถี่มากรอบต้น กว้าง 6.5 ซม. ยาวได้ถึง 1 เมตร ไม่มีก้านใบ
ดอก ออกเป็นช่อขนาดใหญ่ ออกจากกลางลำต้น มีดอกย่อยจำนวนมาก
ผล เป็นผลรวม รูปทรงกระบอก มีตารอบผล มีใบเป็นกระจุกที่ปลายผล
ใบ เดี่ยว เรียงสลับซ้อนกันถี่มากรอบต้น กว้าง 6.5 ซม. ยาวได้ถึง 1 เมตร ไม่มีก้านใบ
ดอก ออกเป็นช่อขนาดใหญ่ ออกจากกลางลำต้น มีดอกย่อยจำนวนมาก
ผล เป็นผลรวม รูปทรงกระบอก มีตารอบผล มีใบเป็นกระจุกที่ปลายผล
สรรพคุณและประโยชน์ของสับปะรด
- แผลเป็นหนอง : นำผลสดๆ คั้นเอาแต่น้ำ ชโลมแผล เอนไซม์จะช่วยย่อยกัดเนื้อเยื่อและหนองให้หลุด
- แก้ท้องผูก ขับปัสสาวะ : นำผลสดๆ คั้นเอาแต่น้ำ 1 แก้ว อาจผสมกับน้ำสุก 1 แก้ว เติมเกลือเล็กน้อย ดื่มตอนท้องว่าง หรืออาจจะใช้เหง้าสดๆ ประมาณ 200 กรัม หรือแห้ง 100 กรัม ต้มน้ำ 2 แก้ว ดื่มวันละ 3 ครั้งก่อนอาหาร ครั้งละ 1 ถ้วยชา
- ร้อนกระสับกระส่าย กระหายน้ำ : เนื้อสับปะรดสด 250 กรัม คั้นเอาน้ำผสมกับน้ำเย็น 1 แก้ว เติมเกลือเล็กน้อย คนให้เข้ากัน ดื่มวันละ 2 ครั้ง
- บวมน้ำ ปัสสาวะไม่ออก : เนื้อสับปะรดสด 250 กรัม ตัดเป็นชิ้น รับประทานวันละ 2-3 ครั้ง
- บิด : รับประทานเนื้อสับปะรดสด วันละ 60-100 กรัม ติดต่อกัน 3 วัน
- ช่วยย่อยอาหาร : น้ำและเนื้อสับปะรดสด จะช่วยย่อยอาหารพวกโปรตีน
ส้มโอ
ลักษณะทั่วไปของส้มโอ
ต้น เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง พุ่มสูง 5 -8 เมตร แตกกิ่งก้านสาขาที่เรือนยอดของต้น ลำต้นมีสีน้ำตาล และมีหนามเล็ก ๆใบ เป็นใบประกอบ มีใบย่อย 1 ใบ แผ่นใบเหมือนมะกรูด ใบมี 2 ส่วน ส่วนบนรูปกลม ปลายเว้า ส่วนล่างเป็นก้านใบที่ขยายแผ่ออกมีขนาดเล็กกว่าส่วนแรก
ดอก ออกเป็นช่อสั้น หรือดอกเดี่ยวตามบริเวณง่ามใบ ดอกสีขาวอมเขียว มี 5 กลีบ กลางดอกมีเกสร 20 - 25 อัน มีกลิ่นหอมสดชื่น
ผล มีขนาดใหญ่รูปกลม บางพันธุ์ตรงขั้วมีจุกสูงขึ้นมา ผิวผลเมื่อยังอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่จัดเป็นสีเหลืองอมเขียว ผิวของผลไม่เรียบ ภายในผลเป็นช่อง ๆ มีแผ่นบาง ๆ สีขาว กั้นเนื้อ ให้แยกออกจากกัน เนื้อแต่ละส่วนเรียกว่า กลีบ เนื้อผลสีเหลือง หรือสีชมพู รสหวาน หรือหวานอมเปรี้ยว แล้วแต่พันธุ์ เช่น ขาวน้ำผึ้ง ขาวแป้น ทองดี มีเมล็ดฝังอยู่ระหว่างเนื้อ มากกว่า 1 เมล็ด
สรรพคุณและประโยชน์ของส้มโอ
- อาหารไม่ย่อย ท้องอืดท้องเฟ้อ : รับประทาน เนื้อส้มโอครั้งละ 60 กรัม วันละ 3 ครั้ง
- ไอ หอบ หืด : ใช้เนื้อส้มโอ 1 ลูก ใส่ในถ้วยกระเบื้องมีฝาปิด เติมน้ำผึ้งพอเหมาะ นำไปนึ่งจนสุก รับประทานครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ วันละ 2 ครั้ง เช้า เย็น
- แก้ไอมีเสมหะ : เนื้อส้มโอหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่เหล้าพอท่วมปิดฝาแช่ไว้ 1 คืน แล้วนำไปต้มผสมน้ำผึ้ง กวนให้เข้ากัน ใช้จิบกินบ่อย ๆ เนื้อส้มโอ 90 กรัม ข้าวหมาก 15 กรัม น้ำผึ้ง 30 กรัม ตุ๋น รับประทานวันละครั้ง
- สตรีแพ้ท้อง คลื่นไส้อาเจียน : ใช้เปลือกส้มโอ 15-20 กรัม สับให้ละเอียด เติมน้ำพอเหมาะ ต้มดื่มแทนน้ำชา
ส้มเขียวหวาน
ลักษณะทั่วไปของส้มเขียวหวาน
ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ 8 เมตร ลำต้นไม่มีหนาม กิ่งแก่มีสีเขียวเข้ม ไม่มีหนามใบ มีขนาดเล็ก รูปร่างค่อนข้างเรียวยาวผิวท้องใบมีสีเขียวอมเหลือง ผิวหลังใบเป็นมันสีเขียวเข้ม ตัวใบมีกลิ่น ก้านใบมีครีบเล็ก ๆ
ดอก เป็นดอกเดี่ยวเกิดที่ซอกใบ มีขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาว มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ มีกลิ่นหอม
ผล มีรูปกลมแป้น ขนาดแตกต่างกัน เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3-7 ซม. ผิวเรียบสีเขียวอมเหลือง จนถึงสีแดงอมส้ม มีต่อมน้ำมันกระจายอยู่ทั่วไป ภายในผลประกอบด้วยกลีบผลจำนวน 10-15 กลีบ แยกออกจากกันได้ง่าย ผนังของกลีบบาง เนื้อในมีสีส้ม บรรจุอยู่ในถุงน้ำหวานขนาดเล็กจำนวนมาก
เมล็ด เป็นรูปกลมรีสีขาว
สรรพคุณและประโยชน์ของส้มเขียวหวาน
- ไฟลวก : ใช้น้ำส้มคั้นทาบริเวณแผลที่ติดเชื้อ ช่วยฆ่าแบคทีเรีย ลดอาการอักเสบ ทำให้แผลหายเร็วขึ้น
- ถนอมผิวพรรณ : ใช้ผิวส้มแช่น้ำ แล้วใช้น้ำที่ได้ล้างหรืออาบเป็นประจำ
- หลอดลมอักเสบ : ใช้ผิวส้มตากแห้ง 30 กรัม นึ่งกับกระเทียม 15 กรัมให้สุก ใช้รับประทาน
- เต้านมอักเสบ : ใช้เมล็ดส้ม 15 กรัม ต้มกับเหล้าและน้ำในปริมาณอย่างละครึ่ง ดื่มให้หมด วันละ 3 ครั้ง
- ปวดหลัง อัณฑะบวม : ใช้เมล็ดส้ม 30 กรัมนำมาคั่วจนเหลือง แล้วบดผสมเหล้า30 ซีซี ดื่มวันละ 2 ครั้ง
- ไล่ยุง : นำเปลือกผลที่แห้งมาจุดไฟสามารถไล่ยุงได้ดีและไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
- ป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน : รับประทานผลสด หรือคั้นเอาน้ำดื่ม
- แก้ท้องผูก : รับประทานผลสดโดยไม่เอากากใยออก
วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
มะละกอ
ลักษณะทั่วไปของมะละกอ
เป็นไม้ยืนต้นเนื้ออ่อน สูง 3 - 6 เมตร ลำต้นตั้งตรงไม่แตกกิ่งก้านสาขา ลำต้นกลวง ไม่มีแก่น ผิวขรุขระเป็นร่องตามยาว ต้นอวบน้ำ มียางขาว ใบเดี่ยวเรียงสลับรอบต้นบริเวณยอด ใบรูปฝ่ามือเว้าเป็นแฉกลึก 7 แฉก ขนาดใหญ่ ดอก มีหลายประเภท คือดอกตัวผู้ ดอกตัวเมีย และดอกสมบูรณ์เพศ ดอกตัวผู้ออกเป็นช่อ ดอกตัวเมียและดอกสมบูรณ์เพศเป็นดอกเดี่ยวหรือช่อ 2 - 3 ดอก สีนวล ผลเป็นผลสด รูปยาวรี ทรงกระบอก หรือกลม ผลอ่อนมีเปลือกสีเขียว เนื้อสีขาว เมื่อแก่หรือสุกเต็มที่ เปลี่ยนเป็นสีเหลืองส้ม เนื้ออ่อนนุ่ม เมล็ดมีสีดำ หรือสีน้ำตาลดำ
สรรพคุณและประโยชน์ของมะละกอ
- เป็นยาบำรุงธาตุ แก้ธาตุไม่ปกติ แก้โรคกระเพาะอาหาร ช่วยย่อยอาหาร แก้ร้อนใน : รับประทานผลมะละกอ
- ขับพยาธิเเส้นด้าย : ใช้ยางสดของมะละกอดิบ 1 ช้อนโต๊ะ ผสมไข่ไก่ 1 ฟอง ทอดกินตอนเช้าขณะท้องว่าง ใช้ยางสดมะละกอดิบ 1 ช้อนโต๊ะ น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำร้อน 3-4 ช้อนโต๊ะ กินครั้งเดียวจนหมดเมื่อครบ 2 ชั่วโมง กินน้ำมันละหุ่ง 2-3 ช้อนชา ตาม กินติดต่อกัน 2 วัน ใช้เมล็ดมะละกอแก่ ๆ สด หรือ แห้ง 1-2 ช้อนชา คั่วแห้งบดละเอียด เติมน้ำผึ้งพอสมควร กินติดต่อกัน 2-3 วัน
มะม่วง
ลักษณะทั่วไปของมะม่วง
เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่สูง 10 - 27 เมตร เปลือกต้นหนาสีเทาขรุขระ มีรูอากาศเล็ก ๆ จำนวนมาก เมื่อแก่เปลือกจะแตกออกเป็นเกล็ด ๆใบ เรียวแหลม กว้าง 2 - 9 ซม. ยาว 10 - 30 ซม. ขยี้ดมมีกลิ่นหอม ก้านใบสั้นเกือบจะไม่มีก้าน ยาว 4 - 6 มม.
ดอก ออกเป็นช่อขนาดใหญ่ ช่อหนึ่งอาจมีดอกย่อยถึง 3,000 ดอก เส้นผ่านศูนย์กลางดอกย่อย 3 - 4 มม. ไม่มีก้าน ดอกย่อย กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ กลีบดอกมี 5 กลีบสีเหลืองอ่อน
ผล ลักษณะคล้ายไต 2 ข้างแบนเล็กน้อย ยาว 8 - 15 ซม. ผลสุกสีเหลืองรสหวาน ผลหนึ่งมีเมล็ดเดียว เมล็ดลักษณะรูปไข่รีแบนขนาดใหญ่
สรรพคุณและประโยชน์ของมะม่วง
- ใช้บำรุงกระเพาะอาหาร แก้คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียน กระหายน้ำ และขับปัสสาวะ : ผลรสเปรี้ยว ชุ่มคอ กินพอสมควร
- แก้ไส้เลื่อน ท้องอืดแน่นและขับพยาธิ : ใช้เมล็ดในมะม่วง ตากแดดจนแห้งแล้วนำมาต้มสัก 2-3 เมล็ด ดื่มเฉพาะน้ำเป็นประจำ
- แก้ลำไส้อักเสบเรื้อรัง ท้องอืดแน่น เด็กเป็นตานขโมย : ใช้ใบสด 15 - 30 กรัม ต้มกับน้ำพอท่วม ดื่มเฉพาะน้ำ ครั้งละ 2 ถ้วย วันละครั้ง
- ใช้แก้ไข้ตัวร้อน :ใช้เปลือกต้นต้มน้ำกิน
- แก้หิด กลาก เกลื้อน : ยางผล ผสมกับน้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมะนาว ทาแผลวันละ 2 - 3 ครั้ง จนกว่าแผลจะหาย แล้วทาต่อไปอีก 7 วัน
- ส้นเท้าแตก : เศษผลดิบ คั้นน้ำ ทาที่ส้นเท้าก่อนนอน แล้วสวมถุงเท้าทับทำเป็นประจำทุกวัน
- แก้ตกขาว : เปลือกผลสด หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ 1 ถ้วย ต้มกับน้ำ 3 แก้ว ต้มเคี่ยวให้เหลือ 1 แก้ว ทิ้งไว้ให้อุ่นนำมาล้างช่องคลอดวันละ 1 ครั้ง จนกว่าอาการตกขาวจะหายไป
- แก้บิด ท้องเสีย : เมล็ดดิบอ่อน หั่นบาง ๆ ตากแดดให้แห้งกรอบ แล้วนำมาตำให้ละเอียด ผสมน้ำผึ้งปั้นเป็นลูกกลอนตากแดด กินครั้งละ 5 - 7 เม็ด ทุก 4 ชั่วโมง จนอาการดีขึ้น ใช้เมล็ดในมะม่วง 2 เมล็ด ต้มกับน้ำ 2 แก้ว ให้เดือดนาน 10 นาที กินครั้งละ 1 แก้ว ทุกครั้งที่ถ่าย
- ชะล้างบาดแผล พอกบาดแผลสด : ใช้เปลือกมะม่วงสด 150 กรัม หรือใบมะม่วงสด ต้มกับน้ำพอท่วม ใช้น้ำที่ได้ล้างบริเวณที่เป็น วันละ 3 ครั้ง หรือ นำใบมะม่วงสด มาล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียด พอกแผล จะช่วยสมานแผลให้หายเร็วยิ่งขึ้น
- แผลมีหนอง : ใช้เมล็ดในมะม่วงสด ๆ มาฝนกับน้ำปูนใส ใช้ทาบาดแผล เช้าเย็น ทุกวัน แผลจะแห้งและหายภายใน 7 วัน ใช้เปลือกต้นมะม่วงที่ยังสดฝนกับน้ำปูนใสให้ข้น ทาที่แผลวันละ 3 ครั้ง แผลจะหายภายใน 7 วัน
- แก้หูด : รับประทานมะม่วงสดวันละ 1-2 ผล และใช้เปลือกทาบริเวณที่เป็น
- บำรุงฟัน แก้ฟันเสียว : ใช้ยอดมะม่วงอ่อนมาเคี้ยวบ่อย ๆ จะทำให้หายได้
มะเฟือง
ลักษณะทั่วไปของมะเฟือง
เป็นไม้ยืนต้นสูง 2 - 5 เมตร ผิวลำต้นขรุขระใบ ประกอบแบบขนนก เรียงสลับใบย่อยรูปขอบขนานแกมใบหอก กว้าง 2 -3.5 ซม. ยาว 3 - 9 ซม. แผ่นใบบาง
ดอก ออกเป็นช่อ ออกที่ซอกใบ ดอกย่อยขนาดเล็กกลีบดอกสีชมพู มี 5 กลีบ
ผล สดฉ่ำน้ำ รูปรี มีสันตามยาว 5 สัน ผลอ่อนสีเขียวเมื่อสุกสีเหลืองอมส้ม รสเปรี้ยวอมหวาน มีทั้งพันธุ์กินผลสดและพันธุ์ที่ใช้แปรรูป ออกดอกติดผลตลอดปี
สรรพคุณและประโยชน์ของมะเฟือง
- โรคอีสุกอีใสและกลากเกลื้อน : นำใบสด ๆ มาตำใช้ทา
- ถอนพิษไข้ : นำใบสดมาต้มกับน้ำใช้รับประทาน
- แก้บิด อาเจียนเป็นเลือด ขับปัสสาวะ ปวดฟัน นิ่ว และแก้เลือดออกตามไรฟัน : ใช้เนื้อมะเฟืองสด 3 ลูก น้ำผึ้ง 2 ช้อนชา ต้มกับน้ำ รับประทานทั้งเนื้อและน้ำ วันละ 1 ครั้ง
- แก้ผดผื่นคันตามเนื้อตามตัว : นำเปลือกลำต้นมาใช้ทาเป็นยาทาภายนอก
- แก้ไอ แก้ไข้ ระงับความร้อน ถอนพิษสำแดง แก้คอแห้ง กระหายน้ำ แก้อาเจียน เลือดออกตามไรฟัน แก้บิด ขับน้ำลาย ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ ขับนิ่ว ลดการอักเสบ แก้บวม แก้หนองใน : นำมะเฟืองสดมาคั้นเอาน้ำ ผสมน้ำหวานและน้ำแข็งดื่มวันละ 3 ครั้ง
มะขามป้อม
ลักษณะทั่วไปของมะขามป้อม
เป็นไม้ยืนต้น 8 - 20 เมตร ลำต้นขรุขละ เปลือกต้นสีน้ำตาลอมเทาแตกกล่อนเป็นแผ่นเนื้อไม้สีแดงอมน้ำตาล กิ่งก้านแตกเป็นพุ่ม
ใบ ประกอบแบบขนนก ใบย่อยรูปขอบขนาน ออกสลับเรียงเป็นสองแถวในระนาบเดียวกัน รูปใบเรียว ปลายแหลม โคนใบมน ขนาดใบกว้างราว 0.5 - 0.7 เซนติเมตร ยาว 1 - 1.2 เซนติเมตร
ดอก ดอกสีขาวนวล ดอกออกช่อกระจุกที่ซอกใบ ดอกแยกเพศ แต่อยู่ในต้นเดียวกัน ดอกมีกลีบรวมราว 5 -6 กลีบ ดอกตัวผู้มีเกษรตัวผู้ 3 อัน ก้านเกสรเชื่อมกัน ดอกตัวเมียมีรังไข่ 3 พู มะข้ามป้อมจะผลิดอกในราวเดือนมกราคม ถึง เดือนเมษายน
ผล สีเขียวอ่อน มีลักษณะกลม ผิวเรียบ ขนาดผลเมื่อโตเต็มที่จะมีเส้นแบ่งเป็นพู ตามยาว 6 เส้น เส้นผ่าศูนย์กลางกว้างราว 2 เซนติเมตร ในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด สีเขียวอมเหลือง รสฝาดเปรี้ยว
ใบ ประกอบแบบขนนก ใบย่อยรูปขอบขนาน ออกสลับเรียงเป็นสองแถวในระนาบเดียวกัน รูปใบเรียว ปลายแหลม โคนใบมน ขนาดใบกว้างราว 0.5 - 0.7 เซนติเมตร ยาว 1 - 1.2 เซนติเมตร
ดอก ดอกสีขาวนวล ดอกออกช่อกระจุกที่ซอกใบ ดอกแยกเพศ แต่อยู่ในต้นเดียวกัน ดอกมีกลีบรวมราว 5 -6 กลีบ ดอกตัวผู้มีเกษรตัวผู้ 3 อัน ก้านเกสรเชื่อมกัน ดอกตัวเมียมีรังไข่ 3 พู มะข้ามป้อมจะผลิดอกในราวเดือนมกราคม ถึง เดือนเมษายน
ผล สีเขียวอ่อน มีลักษณะกลม ผิวเรียบ ขนาดผลเมื่อโตเต็มที่จะมีเส้นแบ่งเป็นพู ตามยาว 6 เส้น เส้นผ่าศูนย์กลางกว้างราว 2 เซนติเมตร ในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด สีเขียวอมเหลือง รสฝาดเปรี้ยว
สรรพคุณและประโยชน์ของมะขามป้อม
- ละลายเสมหะ แก้การกระหายน้ำ : ใช้ผลแก่จัด มีรสขมอมเปรี้ยวอมฝาด เมื่อรับประทานแล้วจะรู้สึกชุ่มคอ ใช้สำหรับช่วยละลายเสมหะ กระตุ้นให้เกิดน้ำลาย จึงช่วยแก้การกระหายน้ำได้ดี หรือ ใช้ผลแห้ง ประมาณ 6 - 10 กรัม ถ้าใช้ผลสดประมาณ 10 -20 กรัม ต้มกับน้ำดื่ม หรือคั้นเอาน้ำสำหรับดื่ม
- อาการเป็นหวัด ไอ เจ็บคอ ปากคอแห้ง อาการขาดวิตามินซี : ให้ใช้ผลสด 15 -30 ผล คั้นเอาน้ำมาจากผล หรือต้มทั้งผลแล้วดื่มแทนน้ำเป็นครั้งคราว
- แก้เลือดออกตามไรฟัน (ลักปิดลักเปิด ขาดวิตามินซี) ขับเสมหะ หรือช่วยระบายของเสีย : ให้ใช้ผลสด 5 -15 ผล ต้มหรือคั้นน้ำมาดื่ม
- แก้ผิวหนังอักเสบ เป็นผื่นคัน : ให้ใช้ใบสด ปริมาณพอเหมาะพอสมควรต้มกับน้ำปริมาณหนึ่งเท่าตัว ใช้อาบหรือชะล้างส่วนที่เป็น ให้ทำบ่อย ๆ อย่างต่อเนื่องก็จะช่วยให้ผิวหนังดีขึ้น
- ความดันเลือดสูง หลอดลมอักเสบ กระเพาะอาหารอักเสบ : ให้ใช้รากแห้ง 15 -30 กรัมต้มกับน้ำ ดื่มแทนน้ำอย่างน้อยวันละ 3 - 4 ครั้ง
- แก้หอบ : ให้ใช้ผล 21 ผล ต้มรวมกับหัวใจและปอดหมูให้เดือด ตักฟองทิ้ง ใช้ดื่มและรับประทานเนื้อด้วยก็ได้
- แก้ปวดฟัน : ให้ใช้ปมที่กิ่งก้านต้มกับน้ำ ใช้อมและบ้วนปากบ่อย ๆ จะบรรเทาอาการปวดฟันลงได้
ฝรั่ง
ลักษณะทั่วไปของฝรั่ง
เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง มีกิ่งเหนียว แตกกิ่งก้านสาขามากมายใบ เดี่ยวออกเป็นคู่ตรงกันข้าม บิดเล็กน้อย รูปใบรีปลายใบและโคนใบมน หลังใบมีขนอ่อนนุ่ม ท้องใบหยาบเห็นเส้นใบเป็นร่างแห พื้นใบมีสีเขียวอมเทา ยอดอ่อนมีขนอ่อนสั้น ๆ
ดอก ออกที่ส่วนยอดของกิ่ง ช่อละ 2 - 3 ดอก ขนาดไม่ใหญ่นัก สีขาว ผล เมื่อดิบมีสีเขียว เมื่อสุกจะมีสีเขียวปนเหลือง มีกลิ่นเฉพาะ เนื้อในสีขาว มีเมล็ดภายในสีน้ำตาลอ่อน
สรรพคุณและประโยชน์ของฝรั่ง
- แก้โรคท้องร่วง ท้องเดิน (ที่ไม่ใช่บิดหรืออหิวาตกโรค) : ใช้ใบเพสลาด 6 - 8 ใบ หรือเปลือกต้นสด ๆ 1 ฝ่ามือ ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 ถ้วยแก้ว รับประทานวันละ 2 ครั้ง เคี้ยวใบสด 3 - 5 แล้วกลืนน้ำตาม อาการท้องเสียจะเริ่มเบาบางลงไปหลังจากกินยา 1/2 - 1 ชั่วโมง
- แก้โรคบิด ลำไส้อักเสบ : ใช้ใบฝรั่งแห้ง 10-15 กรัม หรือ ใบสด 30-60 กรัม ต้มกับน้ำ แบ่งรับประทานวันละ 2-3 ครั้ง
- ห้ามเลือด : ใช้ใบประมาณ 5 - 6 ใบ หรือเปลือกลำต้นพอ ประมาณ ตำให้ละเอียด พอกที่แผลเลือดจะหยุดไหลเอง นำเปลือกหุ้มลำต้นไปตากแห้งแล้วบดเป็นผงผสมกับน้ำผึ้งปิดแผลเปลี่ยนยาวันละ 2 - 3 ครั้ง
- ระงับกลิ่นปาก และยังช่วยบำรุงรักษาเหงือกและฟันได้เป็นอย่างดี : ใช้ใบสด ขนาด 3 - 5 ใบเคี้ยวให้ละเอียดหลังกินอาหารเสร็จใหม่ ๆ อมไว้ให้นาน ๆ แล้วค่อยบ้วนทิ้ง
- ผิวหนังอักเสบ เป็นผื่นแดง มีตุ่มพุพอง แสบคัน แผลเลือดออก และริดสีดวงทวาร : ใช้ใบสดจำนวนพอเหมาะ ต้มทิ้งไว้ให้เย็น เอาน้ำล้างผิวหนังบริเวณที่เป็นแผล วันละหลาย ๆครั้ง สารสกัดจากใบฝรั่งจะฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เป็นแผล เป็นหนองสีขาวได้ ใช้ผลสด 500 กรัม ผลฝรั่งแห้ง 250 กรัม ต้มกับน้ำเคี่ยวจนข้น เอาน้ำล้างผิวหนังบริเวณที่เป็นแผล วันละหลาย ๆครั้ง
- ระงับกลิ่นตัว : ใช้ใบสดขนาด 3 - 5 ใบ เอาใบมาขยี้รักแร้ ทิ้งไว้สักครู่ค่อยล้างออกจะทำให้ไม่มีกลิ่นตัว
- เพิ่มความชุ่มชื่นให้ใบหน้า : ใช้ผล 1 ลูก มาล้างให้สะอาดฝานเป็นแผ่นบาง ๆ นำมาวางบนใบหน้าให้ทั่วนอนหลับตาประมาณ 15 - 20 นาทีแล้วเอาออก
แตงโม
ลักษณะทั่วไปของแตงโม
เป็นไม้เลื้อยอายุสั้น มีลำต้นทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน มีมือพันตามซอกใบใบ เป็นใบเดี่ยวออกตามข้อ โคนใบกว้าง ปลายใบแหลมเล็ก ขอบใบเว้าลึก แผ่นใบมีสีเขียว มีปลายสีขาวกระจายทั่วไป
ดอก สีเหลืองรูปถ้วย ออกตามส่วนยอด แยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ดอกเพศเมียมีขนาดใหญ่กว่าดอกเพศผู้ และมีรังไข่ที่โคนดอก
ผล ขนาดใหญ่รูปกลมหรือรี ผิวเรียบสีเขียวเข้มเกือบดำ หรือสีเขียวอ่อนสลับสีเขียวแก่ แล้วแต่พันธุ์ เนื้อฉ่ำน้ำสีแดงหรือเหลือง รสหวาน เมล็ดแบนรูปไข่ สีดำจำนวนมาก
สรรพคุณและประโยชน์ของแตงโม
- แก้แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก : คั้นน้ำจากเนื้อ กรองด้วยผ้าขาวบาง ใส่ขวดโหลปิดฝา เก็บไว้ 2 - 4 เดือน จนมีรสเปรี้ยว ก่อนใช้ยาควรทำความสะอาดแผลด้วยน้ำสุกอุ่นผสมเกลือเล็กน้อย ใช้สำลีชุบน้ำแตงโมทาแผลวันละ 2 - 3 ครั้ง
- ห้ามเลือด แผลสด : ใช้ใบสด ตำพอแหลก พอกแผลเช้า - เย็น
- แก้ร้อนใน ปากเป็นแผล วิงเวียน : กินเนื้อแตงโม หรือคั้นน้ำแตงโมสดดื่มวันละ 1 - 2 แก้ว
- แก้ปวดฟัน : ใช้เปลือกผลสดหรือแห้ง บดผสมเกล็ดการบูรเล็กน้อย ใช้ทาบริเวณที่ปวด
- แก้โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน : ใช้เปลือกแตงโมแห้ง 50 กรัม ต้มกับน้ำดื่มแทนน้ำชา
- แก้โรคไตอักเสบเรื้อรัง หรือ เฉียบพลัน : ใช้เปลือกแตงโมหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ต้มกับน้ำเคี่ยวจนข้น รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ วันละ 2 ครั้ง ถ้ามีอาการบวมน้ำทั้งตัว ปัสสาวะน้อย ให้นึ่งหรือตุ๋นแตงโมยัดไส้กระเทียม 8 หัว รับประทานเฉพาะเนื้อแตงโม
- แก้อาการอาเจียนเป็นเลือด : ใช้เปลือกหุ้มเมล็ดแตงโม 30 กรัม น้ำตาลทรายขาวพอสมควร ต้มดื่มเฉพาะน้ำวันละ 2 ครั้ง
กล้วยน้ำว้า
ลักษณะทั่วไปของกล้วยน้ำว้า
กล้วยเป็นพืชล้มลุกมีลำต้นอยู่ใต้ดิน เรียกว่า เหง้า ส่วนลำต้นบนดินเกิดจากกาบใบมาหุ้มซ้อนกันเป็นลำต้น ใบเป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่และยาว ผิวใบด้านบนเรียบเป็นมัน ท้องใบมีสีนวล ดอกออกเป็นช่อเรียกว่า หัวปลี แต่ละช่อย่อยประกอบด้วยใบประดับขนาดใหญ่มีมีสีม่วงแดงหุ้มอยู่ ผลรวมกันเป็นเครือแต่ละเครือจะมีหวีหลายๆ อันมารวมกัน
สรรพคุณและประโยชน์ของกล้วยน้ำว้า
- ใช้รักษาอาการท้องเดิน : โดยใช้กล้วยดิบทั้งเปลือกฝานบาง ๆ ผึ่งลมให้แห้ง ใช้รับประทาน ครั้งละ 1/2 - 1 ผล
- ยาระบาย : ผลกล้วยสุกงอมรับประทานก่อนนอนครั้งละ 2 ผล ติดต่อกัน หลายๆ วัน จะช่วยระบาย
- ยาแก้ท้องเสีย : ผลกล้วยห่าม รับประทานครั้งละ 2 ผล เมื่อเกิดอาการท้องเสียเล็กน้อย หากถึงระดับท้องร่วงที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ ให้ใช้กล้วยดิบ 1 ผล หั่นเป็นแว่น ตากแห้ง บดเป็นผง ชงน้ำร้อนดื่ม
- ห้ามเลือด : ใช้ยางกล้วยจากก้านใบ หยอดลงใส่แผลห้ามเลือดได้
- ขับปัสสาวะ : เหง้าหรือลำต้นใต้ดินของต้นกล้วย ใช้ 1 กำมือล้างน้ำให้ สะอาด นำมาต้มกับน้ำให้เดือด 5 -10 นาที ดื่มแต่น้ำวันละ 4 ครั้ง
- โรคกระเพาะ : นำผลกล้วยดิบมาฝานเป็นแว่นบาง ๆ ตากแดดให้แห้งบดเป็นผงชงดื่มกับน้ำต้มสุก รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ ก่อนอาหารครึ่งชั่วโมงและก่อนนอน
- บำรุงน้ำนม : ใช้หัวปลี แกงเลียง รับประทานหลังคลอด
- ส้นเท้าแตก : ใช้เปลือกกล้วยสุก เมื่อรับประทานเนื้อแล้วใช้ส่วนที่ติดกับเนื้อ ทาถูบริเวณส้นเท้า วันละ 4 - 5 ครั้ง ทำติดต่อกัน 4 - 5 วัน รอยแตกจะหายไป
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)