ปฏิทิน

วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ความเป็นมาของสมุนไพรไทย

แอปเปิ้ล

ลักษณะทั่วไปของแอปเปิ้ล

         เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดสูงประมาณ 15 เมตร มีขนนุ่มปกคลุมที่กิ่งก้าน 
ใบ เป็นใบเดี่ยว ค่อนข้างใหญ่มีรอยหยักคล้ายฟันเลื่อยยาวประมาณ 9-25 ซม. กว้างประมาณ 5-14 ซม. 
ดอก ออกเป็นช่อ คล้ายร่ม กลีบดอกสีขาวหรือชมพู มีดอกประมาณ 3-7 ดอกต่อหนึ่งช่อ แต่ละดอกมีกลีบดอก 5 กลีบ มีเกสรตัวผู้อยู่เป็นจำนวนมาก 
ผล รูปร่างกลม ผลมีมีรอยบุ๋มบริเวณขั้วและก้น

สรรพคุณและประโยชน์ของแอปเปิ้ล


  1. รักษาความดันให้เป็นปกติ : รับประทานแอปเปิ้ลปอกเปลือกทุกวัน วันละ 3 ผล 
  2.  ลดระดับน้ำตาลในเลือด : รับประทานแอปเปิ้ลครั้งละ 2 ผล วันละ 2 ครั้ง (วันละ 4 ผล) เป็นเวลา 3 วัน
  3.  ท้องร่วงอย่างอ่อน : ใช้เนื้อแอปเปิ้ล สับละเอียด จำนวนพอเหมาะ รับประทานติดต่อกัน 2 วัน ระบบขับถ่ายจะคืนสู่ปกติ
  4.  คลื่นไส้ มีเสมหะ : ใช้เปลือกแอปเปิ้ลสด 15-30 กรัม ต้มกับน้ำ กรองเอากากทิ้ง ดื่มเมื่อมีอาการ
  5.   แก้อาการแพ้ท้อง : ใช้เนื้อแอปเปิ้ล 30-60 กรัม คั่วกับข้าว 30 กรัม จนเหลือง ชงดื่มแทนชา

องุ่น

ลักษณะทั่วไปขององุ่น

      เป็นไม้เลื้อย เนื้อแข็ง กิ่งก้านเล็ก เลื้อยเกาะด้วยมือพัน 
ใบ  กลม ขอบหยักเว้าลึก 3 -7 พู โคนใบเหว้าหัวใจ 
ดอก  ออกเป็นช่อแยกแขนง ดอกย่อยขนาดเล็กสีเขียว โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยก 5 กลีบ 
ผล  ออกเป็นพวง ผลย่อยรูปกลมรี ฉ่ำน้ำ ผิวมีนวลเกาะ รสหวาน มีสีเขียว ม่วงแดง และม่วงดำ แล้วแต่พันธุ์ มี 1 - 4 เมล็ด ปัจจุบันมีการผลิตองุ่นไร้เมล็ด แต่ผลค่อนข้างเล็ก

สรรพคุณและประโยชน์ขององุ่น


  1. รักษาแผลสด ห้ามเลือด :  ใบสด หรือเมล็ด ตำพอก 
  2. ยาระบายอ่อน ๆ :  ลูกเกด ชนิดสีดำ 1 ช้อนโต๊ะเติมน้ำสุกพอท่วม แช่ทิ้งไว้ข้ามคืนในตอนเช้า กินทั้งน้ำและเนื้อ
  3. แก้ไข้ ลูกเกด แช่น้ำให้นิ่ม ตำคั้นเอาแต่น้ำ ผสมน้ำคั้นจากมะขามป้อม อย่างละเท่า ๆ กัน กินครั้งละ 1 - 2 ช้อนโต๊ะ
  4. ยาแก้ไอ ลูกเกด ตำให้แหลก 1 ถ้วย ดอกดีปลีแห้งบดเป็นผง ครึ่งถ้วย น้ำตาลกรวดบดละเอียด 2 ถ้วย เคี่ยวรวมกันจนเหนียว ยกลงตั้งไว้ให้เย็น เติมน้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ กินครั้งละ 1 - 2 ช้อนชา วันละ 2 ครั้ง เช้า - เย็น
  5. โรคตับอักเสบ ดีซ่าน และอาการปวดจากข้ออักเสบ สตรแพ้ท้อง มีอาการบวมน้ำ ปัสสาวะขัด : ใช้รากองุ่นสด 30-90 กรัม ต้มรับประทานน้ำ
  6. โลหิตจาง เวียนศรีษะ ใจสั่น : ดื่มเหล้าองุ่น จำนวนพอเหมาะ วันละ 2-3 ครั้ง เป็นประจำ
  7.  ปวดตามข้อ : ใช้รากองุ่นสด 60-90 กรัม ล้างให้สะอาด สับให้ละเอียด ใส่รวมกับกีบเท้าหมู 1 ข้าง ผสมน้ำกับเหล้า จำนวนเท่ากัน ต้มหรือ ตุ๋น รับประทาน

สับปะรด

ลักษณะทั่วไปของสับปะรด

        เป็นพืชล้มลุกอายุหลายปี สูง 90-100 ซม. มีลำต้นอยู่ใต้ดิน 
ใบ เดี่ยว เรียงสลับซ้อนกันถี่มากรอบต้น กว้าง 6.5 ซม. ยาวได้ถึง 1 เมตร ไม่มีก้านใบ 
ดอก ออกเป็นช่อขนาดใหญ่ ออกจากกลางลำต้น มีดอกย่อยจำนวนมาก 
ผล เป็นผลรวม รูปทรงกระบอก มีตารอบผล มีใบเป็นกระจุกที่ปลายผล

สรรพคุณและประโยชน์ของสับปะรด


  1. แผลเป็นหนอง : นำผลสดๆ คั้นเอาแต่น้ำ ชโลมแผล เอนไซม์จะช่วยย่อยกัดเนื้อเยื่อและหนองให้หลุด
  2. แก้ท้องผูก ขับปัสสาวะ : นำผลสดๆ คั้นเอาแต่น้ำ 1 แก้ว อาจผสมกับน้ำสุก 1 แก้ว เติมเกลือเล็กน้อย ดื่มตอนท้องว่าง หรืออาจจะใช้เหง้าสดๆ ประมาณ 200 กรัม หรือแห้ง 100 กรัม ต้มน้ำ 2 แก้ว ดื่มวันละ 3 ครั้งก่อนอาหาร ครั้งละ 1 ถ้วยชา
  3. ร้อนกระสับกระส่าย กระหายน้ำ : เนื้อสับปะรดสด 250 กรัม คั้นเอาน้ำผสมกับน้ำเย็น 1 แก้ว เติมเกลือเล็กน้อย คนให้เข้ากัน ดื่มวันละ 2 ครั้ง
  4. บวมน้ำ ปัสสาวะไม่ออก : เนื้อสับปะรดสด 250 กรัม ตัดเป็นชิ้น รับประทานวันละ 2-3 ครั้ง
  5. บิด : รับประทานเนื้อสับปะรดสด วันละ 60-100 กรัม ติดต่อกัน 3 วัน 
  6. ช่วยย่อยอาหาร : น้ำและเนื้อสับปะรดสด จะช่วยย่อยอาหารพวกโปรตีน

ส้มโอ

ลักษณะทั่วไปของส้มโอ

ต้น เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง พุ่มสูง 5 -8 เมตร แตกกิ่งก้านสาขาที่เรือนยอดของต้น ลำต้นมีสีน้ำตาล และมีหนามเล็ก ๆ 
ใบ เป็นใบประกอบ มีใบย่อย 1 ใบ แผ่นใบเหมือนมะกรูด ใบมี 2 ส่วน ส่วนบนรูปกลม ปลายเว้า ส่วนล่างเป็นก้านใบที่ขยายแผ่ออกมีขนาดเล็กกว่าส่วนแรก
ดอก ออกเป็นช่อสั้น หรือดอกเดี่ยวตามบริเวณง่ามใบ ดอกสีขาวอมเขียว มี 5 กลีบ กลางดอกมีเกสร 20 - 25 อัน มีกลิ่นหอมสดชื่น 
ผล มีขนาดใหญ่รูปกลม บางพันธุ์ตรงขั้วมีจุกสูงขึ้นมา ผิวผลเมื่อยังอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่จัดเป็นสีเหลืองอมเขียว ผิวของผลไม่เรียบ ภายในผลเป็นช่อง ๆ มีแผ่นบาง ๆ สีขาว กั้นเนื้อ ให้แยกออกจากกัน เนื้อแต่ละส่วนเรียกว่า กลีบ เนื้อผลสีเหลือง หรือสีชมพู รสหวาน หรือหวานอมเปรี้ยว แล้วแต่พันธุ์ เช่น ขาวน้ำผึ้ง ขาวแป้น ทองดี มีเมล็ดฝังอยู่ระหว่างเนื้อ มากกว่า 1 เมล็ด

สรรพคุณและประโยชน์ของส้มโอ


  1. อาหารไม่ย่อย ท้องอืดท้องเฟ้อ : รับประทาน เนื้อส้มโอครั้งละ 60 กรัม วันละ 3 ครั้ง 
  2. ไอ หอบ หืด : ใช้เนื้อส้มโอ 1 ลูก ใส่ในถ้วยกระเบื้องมีฝาปิด เติมน้ำผึ้งพอเหมาะ นำไปนึ่งจนสุก รับประทานครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ วันละ 2 ครั้ง เช้า เย็น
  3. แก้ไอมีเสมหะ : เนื้อส้มโอหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่เหล้าพอท่วมปิดฝาแช่ไว้ 1 คืน แล้วนำไปต้มผสมน้ำผึ้ง กวนให้เข้ากัน ใช้จิบกินบ่อย ๆ เนื้อส้มโอ 90 กรัม ข้าวหมาก 15 กรัม น้ำผึ้ง 30 กรัม ตุ๋น รับประทานวันละครั้ง
  4. สตรีแพ้ท้อง คลื่นไส้อาเจียน : ใช้เปลือกส้มโอ 15-20 กรัม สับให้ละเอียด เติมน้ำพอเหมาะ ต้มดื่มแทนน้ำชา

ส้มเขียวหวาน

ลักษณะทั่วไปของส้มเขียวหวาน

       ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ 8 เมตร ลำต้นไม่มีหนาม กิ่งแก่มีสีเขียวเข้ม ไม่มีหนาม 
ใบ มีขนาดเล็ก รูปร่างค่อนข้างเรียวยาวผิวท้องใบมีสีเขียวอมเหลือง ผิวหลังใบเป็นมันสีเขียวเข้ม ตัวใบมีกลิ่น ก้านใบมีครีบเล็ก ๆ 
ดอก เป็นดอกเดี่ยวเกิดที่ซอกใบ มีขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาว มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ มีกลิ่นหอม 
ผล มีรูปกลมแป้น ขนาดแตกต่างกัน เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3-7 ซม. ผิวเรียบสีเขียวอมเหลือง จนถึงสีแดงอมส้ม มีต่อมน้ำมันกระจายอยู่ทั่วไป ภายในผลประกอบด้วยกลีบผลจำนวน 10-15 กลีบ แยกออกจากกันได้ง่าย ผนังของกลีบบาง เนื้อในมีสีส้ม บรรจุอยู่ในถุงน้ำหวานขนาดเล็กจำนวนมาก 
เมล็ด เป็นรูปกลมรีสีขาว

สรรพคุณและประโยชน์ของส้มเขียวหวาน         

  1. ไฟลวก : ใช้น้ำส้มคั้นทาบริเวณแผลที่ติดเชื้อ ช่วยฆ่าแบคทีเรีย ลดอาการอักเสบ ทำให้แผลหายเร็วขึ้น 
  2. ถนอมผิวพรรณ : ใช้ผิวส้มแช่น้ำ แล้วใช้น้ำที่ได้ล้างหรืออาบเป็นประจำ
  3. หลอดลมอักเสบ : ใช้ผิวส้มตากแห้ง 30 กรัม นึ่งกับกระเทียม 15 กรัมให้สุก ใช้รับประทาน
  4. เต้านมอักเสบ : ใช้เมล็ดส้ม 15 กรัม ต้มกับเหล้าและน้ำในปริมาณอย่างละครึ่ง ดื่มให้หมด วันละ 3 ครั้ง
  5. ปวดหลัง อัณฑะบวม : ใช้เมล็ดส้ม 30 กรัมนำมาคั่วจนเหลือง แล้วบดผสมเหล้า30 ซีซี ดื่มวันละ 2 ครั้ง
  6. ไล่ยุง : นำเปลือกผลที่แห้งมาจุดไฟสามารถไล่ยุงได้ดีและไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
  7. ป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน : รับประทานผลสด หรือคั้นเอาน้ำดื่ม
  8. แก้ท้องผูก : รับประทานผลสดโดยไม่เอากากใยออก

วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

มะละกอ

ลักษณะทั่วไปของมะละกอ

           เป็นไม้ยืนต้นเนื้ออ่อน สูง 3 - 6 เมตร ลำต้นตั้งตรงไม่แตกกิ่งก้านสาขา ลำต้นกลวง ไม่มีแก่น ผิวขรุขระเป็นร่องตามยาว ต้นอวบน้ำ มียางขาว ใบเดี่ยวเรียงสลับรอบต้นบริเวณยอด ใบรูปฝ่ามือเว้าเป็นแฉกลึก 7 แฉก ขนาดใหญ่ ดอก มีหลายประเภท คือดอกตัวผู้ ดอกตัวเมีย และดอกสมบูรณ์เพศ ดอกตัวผู้ออกเป็นช่อ ดอกตัวเมียและดอกสมบูรณ์เพศเป็นดอกเดี่ยวหรือช่อ 2 - 3 ดอก สีนวล ผลเป็นผลสด รูปยาวรี ทรงกระบอก หรือกลม ผลอ่อนมีเปลือกสีเขียว เนื้อสีขาว เมื่อแก่หรือสุกเต็มที่ เปลี่ยนเป็นสีเหลืองส้ม เนื้ออ่อนนุ่ม เมล็ดมีสีดำ หรือสีน้ำตาลดำ

สรรพคุณและประโยชน์ของมะละกอ


  1. เป็นยาบำรุงธาตุ แก้ธาตุไม่ปกติ แก้โรคกระเพาะอาหาร ช่วยย่อยอาหาร แก้ร้อนใน :  รับประทานผลมะละกอ 
  2. ขับพยาธิเเส้นด้าย : ใช้ยางสดของมะละกอดิบ 1 ช้อนโต๊ะ ผสมไข่ไก่ 1 ฟอง ทอดกินตอนเช้าขณะท้องว่าง ใช้ยางสดมะละกอดิบ 1 ช้อนโต๊ะ น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำร้อน 3-4 ช้อนโต๊ะ กินครั้งเดียวจนหมดเมื่อครบ 2 ชั่วโมง กินน้ำมันละหุ่ง 2-3 ช้อนชา ตาม กินติดต่อกัน 2 วัน  ใช้เมล็ดมะละกอแก่ ๆ สด หรือ แห้ง 1-2 ช้อนชา คั่วแห้งบดละเอียด เติมน้ำผึ้งพอสมควร กินติดต่อกัน 2-3 วัน

มะม่วง

ลักษณะทั่วไปของมะม่วง

         เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่สูง 10 - 27 เมตร เปลือกต้นหนาสีเทาขรุขระ มีรูอากาศเล็ก ๆ จำนวนมาก เมื่อแก่เปลือกจะแตกออกเป็นเกล็ด ๆ 
ใบ  เรียวแหลม กว้าง 2 - 9 ซม. ยาว 10 - 30 ซม. ขยี้ดมมีกลิ่นหอม ก้านใบสั้นเกือบจะไม่มีก้าน ยาว 4 - 6 มม.
ดอก  ออกเป็นช่อขนาดใหญ่ ช่อหนึ่งอาจมีดอกย่อยถึง 3,000 ดอก เส้นผ่านศูนย์กลางดอกย่อย 3 - 4 มม. ไม่มีก้าน ดอกย่อย กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ กลีบดอกมี 5 กลีบสีเหลืองอ่อน 
ผล  ลักษณะคล้ายไต 2 ข้างแบนเล็กน้อย ยาว 8 - 15 ซม. ผลสุกสีเหลืองรสหวาน ผลหนึ่งมีเมล็ดเดียว เมล็ดลักษณะรูปไข่รีแบนขนาดใหญ่

สรรพคุณและประโยชน์ของมะม่วง


  1. ใช้บำรุงกระเพาะอาหาร แก้คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียน กระหายน้ำ และขับปัสสาวะ : ผลรสเปรี้ยว ชุ่มคอ กินพอสมควร
  2. แก้ไส้เลื่อน ท้องอืดแน่นและขับพยาธิ : ใช้เมล็ดในมะม่วง ตากแดดจนแห้งแล้วนำมาต้มสัก 2-3 เมล็ด ดื่มเฉพาะน้ำเป็นประจำ
  3. แก้ลำไส้อักเสบเรื้อรัง ท้องอืดแน่น เด็กเป็นตานขโมย : ใช้ใบสด 15 - 30 กรัม ต้มกับน้ำพอท่วม ดื่มเฉพาะน้ำ ครั้งละ 2 ถ้วย วันละครั้ง
  4. ใช้แก้ไข้ตัวร้อน :ใช้เปลือกต้นต้มน้ำกิน
  5. แก้หิด กลาก เกลื้อน : ยางผล ผสมกับน้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมะนาว ทาแผลวันละ 2 - 3 ครั้ง จนกว่าแผลจะหาย แล้วทาต่อไปอีก 7 วัน
  6. ส้นเท้าแตก : เศษผลดิบ คั้นน้ำ ทาที่ส้นเท้าก่อนนอน แล้วสวมถุงเท้าทับทำเป็นประจำทุกวัน
  7. แก้ตกขาว : เปลือกผลสด หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ 1 ถ้วย ต้มกับน้ำ 3 แก้ว ต้มเคี่ยวให้เหลือ 1 แก้ว ทิ้งไว้ให้อุ่นนำมาล้างช่องคลอดวันละ 1 ครั้ง จนกว่าอาการตกขาวจะหายไป
  8. แก้บิด ท้องเสีย : เมล็ดดิบอ่อน หั่นบาง ๆ ตากแดดให้แห้งกรอบ แล้วนำมาตำให้ละเอียด ผสมน้ำผึ้งปั้นเป็นลูกกลอนตากแดด กินครั้งละ 5 - 7 เม็ด ทุก 4 ชั่วโมง จนอาการดีขึ้น ใช้เมล็ดในมะม่วง 2 เมล็ด ต้มกับน้ำ 2 แก้ว ให้เดือดนาน 10 นาที กินครั้งละ 1 แก้ว ทุกครั้งที่ถ่าย
  9. ชะล้างบาดแผล พอกบาดแผลสด : ใช้เปลือกมะม่วงสด 150 กรัม หรือใบมะม่วงสด ต้มกับน้ำพอท่วม ใช้น้ำที่ได้ล้างบริเวณที่เป็น วันละ 3 ครั้ง หรือ นำใบมะม่วงสด มาล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียด พอกแผล จะช่วยสมานแผลให้หายเร็วยิ่งขึ้น
  10. แผลมีหนอง : ใช้เมล็ดในมะม่วงสด ๆ มาฝนกับน้ำปูนใส ใช้ทาบาดแผล เช้าเย็น ทุกวัน แผลจะแห้งและหายภายใน 7 วัน ใช้เปลือกต้นมะม่วงที่ยังสดฝนกับน้ำปูนใสให้ข้น ทาที่แผลวันละ 3 ครั้ง แผลจะหายภายใน 7 วัน
  11. แก้หูด : รับประทานมะม่วงสดวันละ 1-2 ผล และใช้เปลือกทาบริเวณที่เป็น
  12. บำรุงฟัน แก้ฟันเสียว : ใช้ยอดมะม่วงอ่อนมาเคี้ยวบ่อย ๆ จะทำให้หายได้  

มะเฟือง

ลักษณะทั่วไปของมะเฟือง

          เป็นไม้ยืนต้นสูง 2 - 5 เมตร ผิวลำต้นขรุขระ 
ใบ  ประกอบแบบขนนก เรียงสลับใบย่อยรูปขอบขนานแกมใบหอก กว้าง 2 -3.5 ซม. ยาว 3 - 9 ซม. แผ่นใบบาง 
ดอก  ออกเป็นช่อ ออกที่ซอกใบ ดอกย่อยขนาดเล็กกลีบดอกสีชมพู มี 5 กลีบ 
ผล  สดฉ่ำน้ำ รูปรี มีสันตามยาว 5 สัน ผลอ่อนสีเขียวเมื่อสุกสีเหลืองอมส้ม รสเปรี้ยวอมหวาน มีทั้งพันธุ์กินผลสดและพันธุ์ที่ใช้แปรรูป ออกดอกติดผลตลอดปี

สรรพคุณและประโยชน์ของมะเฟือง


  1. โรคอีสุกอีใสและกลากเกลื้อน : นำใบสด ๆ มาตำใช้ทา 
  2. ถอนพิษไข้ : นำใบสดมาต้มกับน้ำใช้รับประทาน
  3. แก้บิด อาเจียนเป็นเลือด ขับปัสสาวะ ปวดฟัน นิ่ว และแก้เลือดออกตามไรฟัน : ใช้เนื้อมะเฟืองสด 3 ลูก น้ำผึ้ง 2 ช้อนชา ต้มกับน้ำ รับประทานทั้งเนื้อและน้ำ วันละ 1 ครั้ง
  4. แก้ผดผื่นคันตามเนื้อตามตัว : นำเปลือกลำต้นมาใช้ทาเป็นยาทาภายนอก 
  5. แก้ไอ แก้ไข้ ระงับความร้อน ถอนพิษสำแดง แก้คอแห้ง กระหายน้ำ แก้อาเจียน เลือดออกตามไรฟัน แก้บิด ขับน้ำลาย ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ ขับนิ่ว ลดการอักเสบ แก้บวม แก้หนองใน : นำมะเฟืองสดมาคั้นเอาน้ำ ผสมน้ำหวานและน้ำแข็งดื่มวันละ 3 ครั้ง

มะขามป้อม

ลักษณะทั่วไปของมะขามป้อม

        เป็นไม้ยืนต้น 8 - 20 เมตร ลำต้นขรุขละ เปลือกต้นสีน้ำตาลอมเทาแตกกล่อนเป็นแผ่นเนื้อไม้สีแดงอมน้ำตาล กิ่งก้านแตกเป็นพุ่ม 
ใบ  ประกอบแบบขนนก ใบย่อยรูปขอบขนาน ออกสลับเรียงเป็นสองแถวในระนาบเดียวกัน รูปใบเรียว ปลายแหลม โคนใบมน ขนาดใบกว้างราว 0.5 - 0.7 เซนติเมตร ยาว 1 - 1.2 เซนติเมตร 
ดอก  ดอกสีขาวนวล ดอกออกช่อกระจุกที่ซอกใบ ดอกแยกเพศ แต่อยู่ในต้นเดียวกัน ดอกมีกลีบรวมราว 5 -6 กลีบ ดอกตัวผู้มีเกษรตัวผู้ 3 อัน ก้านเกสรเชื่อมกัน ดอกตัวเมียมีรังไข่ 3 พู มะข้ามป้อมจะผลิดอกในราวเดือนมกราคม ถึง เดือนเมษายน 
ผล  สีเขียวอ่อน มีลักษณะกลม ผิวเรียบ ขนาดผลเมื่อโตเต็มที่จะมีเส้นแบ่งเป็นพู ตามยาว 6 เส้น เส้นผ่าศูนย์กลางกว้างราว 2 เซนติเมตร ในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด สีเขียวอมเหลือง รสฝาดเปรี้ยว

สรรพคุณและประโยชน์ของมะขามป้อม


  1. ละลายเสมหะ แก้การกระหายน้ำ : ใช้ผลแก่จัด มีรสขมอมเปรี้ยวอมฝาด เมื่อรับประทานแล้วจะรู้สึกชุ่มคอ ใช้สำหรับช่วยละลายเสมหะ กระตุ้นให้เกิดน้ำลาย จึงช่วยแก้การกระหายน้ำได้ดี หรือ ใช้ผลแห้ง ประมาณ 6 - 10 กรัม ถ้าใช้ผลสดประมาณ 10 -20 กรัม ต้มกับน้ำดื่ม หรือคั้นเอาน้ำสำหรับดื่ม 
  2. อาการเป็นหวัด ไอ เจ็บคอ ปากคอแห้ง อาการขาดวิตามินซี : ให้ใช้ผลสด 15 -30 ผล คั้นเอาน้ำมาจากผล หรือต้มทั้งผลแล้วดื่มแทนน้ำเป็นครั้งคราว
  3. แก้เลือดออกตามไรฟัน (ลักปิดลักเปิด ขาดวิตามินซี) ขับเสมหะ หรือช่วยระบายของเสีย : ให้ใช้ผลสด 5 -15 ผล ต้มหรือคั้นน้ำมาดื่ม
  4. แก้ผิวหนังอักเสบ เป็นผื่นคัน : ให้ใช้ใบสด ปริมาณพอเหมาะพอสมควรต้มกับน้ำปริมาณหนึ่งเท่าตัว ใช้อาบหรือชะล้างส่วนที่เป็น ให้ทำบ่อย ๆ อย่างต่อเนื่องก็จะช่วยให้ผิวหนังดีขึ้น
  5. ความดันเลือดสูง หลอดลมอักเสบ กระเพาะอาหารอักเสบ : ให้ใช้รากแห้ง 15 -30 กรัมต้มกับน้ำ ดื่มแทนน้ำอย่างน้อยวันละ 3 - 4 ครั้ง
  6. แก้หอบ : ให้ใช้ผล 21 ผล ต้มรวมกับหัวใจและปอดหมูให้เดือด ตักฟองทิ้ง ใช้ดื่มและรับประทานเนื้อด้วยก็ได้
  7. แก้ปวดฟัน : ให้ใช้ปมที่กิ่งก้านต้มกับน้ำ ใช้อมและบ้วนปากบ่อย ๆ จะบรรเทาอาการปวดฟันลงได้

ฝรั่ง

ลักษณะทั่วไปของฝรั่ง

         เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง มีกิ่งเหนียว แตกกิ่งก้านสาขามากมาย 
ใบ  เดี่ยวออกเป็นคู่ตรงกันข้าม บิดเล็กน้อย รูปใบรีปลายใบและโคนใบมน หลังใบมีขนอ่อนนุ่ม ท้องใบหยาบเห็นเส้นใบเป็นร่างแห พื้นใบมีสีเขียวอมเทา ยอดอ่อนมีขนอ่อนสั้น ๆ
ดอก  ออกที่ส่วนยอดของกิ่ง ช่อละ 2 - 3 ดอก ขนาดไม่ใหญ่นัก สีขาว ผล  เมื่อดิบมีสีเขียว เมื่อสุกจะมีสีเขียวปนเหลือง มีกลิ่นเฉพาะ เนื้อในสีขาว มีเมล็ดภายในสีน้ำตาลอ่อน

สรรพคุณและประโยชน์ของฝรั่ง


  1. แก้โรคท้องร่วง ท้องเดิน (ที่ไม่ใช่บิดหรืออหิวาตกโรค) : ใช้ใบเพสลาด   6 - 8 ใบ หรือเปลือกต้นสด ๆ 1 ฝ่ามือ ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 ถ้วยแก้ว รับประทานวันละ 2 ครั้ง เคี้ยวใบสด 3 - 5 แล้วกลืนน้ำตาม อาการท้องเสียจะเริ่มเบาบางลงไปหลังจากกินยา 1/2 - 1 ชั่วโมง
  2. แก้โรคบิด ลำไส้อักเสบ : ใช้ใบฝรั่งแห้ง 10-15 กรัม หรือ ใบสด 30-60 กรัม ต้มกับน้ำ แบ่งรับประทานวันละ 2-3 ครั้ง
  3. ห้ามเลือด : ใช้ใบประมาณ 5 - 6 ใบ หรือเปลือกลำต้นพอ ประมาณ ตำให้ละเอียด พอกที่แผลเลือดจะหยุดไหลเอง นำเปลือกหุ้มลำต้นไปตากแห้งแล้วบดเป็นผงผสมกับน้ำผึ้งปิดแผลเปลี่ยนยาวันละ 2 - 3 ครั้ง
  4. ระงับกลิ่นปาก และยังช่วยบำรุงรักษาเหงือกและฟันได้เป็นอย่างดี : ใช้ใบสด ขนาด 3 - 5 ใบเคี้ยวให้ละเอียดหลังกินอาหารเสร็จใหม่ ๆ อมไว้ให้นาน ๆ แล้วค่อยบ้วนทิ้ง
  5. ผิวหนังอักเสบ เป็นผื่นแดง มีตุ่มพุพอง แสบคัน แผลเลือดออก และริดสีดวงทวาร : ใช้ใบสดจำนวนพอเหมาะ ต้มทิ้งไว้ให้เย็น เอาน้ำล้างผิวหนังบริเวณที่เป็นแผล วันละหลาย ๆครั้ง สารสกัดจากใบฝรั่งจะฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เป็นแผล เป็นหนองสีขาวได้ ใช้ผลสด 500 กรัม ผลฝรั่งแห้ง 250 กรัม ต้มกับน้ำเคี่ยวจนข้น เอาน้ำล้างผิวหนังบริเวณที่เป็นแผล วันละหลาย ๆครั้ง
  6. ระงับกลิ่นตัว : ใช้ใบสดขนาด 3 - 5 ใบ เอาใบมาขยี้รักแร้ ทิ้งไว้สักครู่ค่อยล้างออกจะทำให้ไม่มีกลิ่นตัว
  7. เพิ่มความชุ่มชื่นให้ใบหน้า : ใช้ผล 1 ลูก มาล้างให้สะอาดฝานเป็นแผ่นบาง ๆ นำมาวางบนใบหน้าให้ทั่วนอนหลับตาประมาณ 15 - 20 นาทีแล้วเอาออก

แตงโม

ลักษณะทั่วไปของแตงโม

         เป็นไม้เลื้อยอายุสั้น มีลำต้นทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน มีมือพันตามซอกใบ 
ใบ  เป็นใบเดี่ยวออกตามข้อ โคนใบกว้าง ปลายใบแหลมเล็ก ขอบใบเว้าลึก แผ่นใบมีสีเขียว มีปลายสีขาวกระจายทั่วไป  
ดอก  สีเหลืองรูปถ้วย ออกตามส่วนยอด แยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ดอกเพศเมียมีขนาดใหญ่กว่าดอกเพศผู้ และมีรังไข่ที่โคนดอก
ผล  ขนาดใหญ่รูปกลมหรือรี ผิวเรียบสีเขียวเข้มเกือบดำ หรือสีเขียวอ่อนสลับสีเขียวแก่ แล้วแต่พันธุ์ เนื้อฉ่ำน้ำสีแดงหรือเหลือง รสหวาน เมล็ดแบนรูปไข่ สีดำจำนวนมาก

สรรพคุณและประโยชน์ของแตงโม


  1. แก้แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก : คั้นน้ำจากเนื้อ กรองด้วยผ้าขาวบาง ใส่ขวดโหลปิดฝา เก็บไว้ 2 - 4 เดือน จนมีรสเปรี้ยว ก่อนใช้ยาควรทำความสะอาดแผลด้วยน้ำสุกอุ่นผสมเกลือเล็กน้อย ใช้สำลีชุบน้ำแตงโมทาแผลวันละ 2 - 3 ครั้ง
  2. ห้ามเลือด แผลสด : ใช้ใบสด ตำพอแหลก พอกแผลเช้า - เย็น
  3. แก้ร้อนใน ปากเป็นแผล วิงเวียน : กินเนื้อแตงโม หรือคั้นน้ำแตงโมสดดื่มวันละ 1 - 2 แก้ว
  4. แก้ปวดฟัน : ใช้เปลือกผลสดหรือแห้ง บดผสมเกล็ดการบูรเล็กน้อย ใช้ทาบริเวณที่ปวด
  5. แก้โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน : ใช้เปลือกแตงโมแห้ง 50 กรัม ต้มกับน้ำดื่มแทนน้ำชา 
  6. แก้โรคไตอักเสบเรื้อรัง หรือ เฉียบพลัน : ใช้เปลือกแตงโมหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ต้มกับน้ำเคี่ยวจนข้น รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ วันละ 2 ครั้ง ถ้ามีอาการบวมน้ำทั้งตัว ปัสสาวะน้อย ให้นึ่งหรือตุ๋นแตงโมยัดไส้กระเทียม 8 หัว รับประทานเฉพาะเนื้อแตงโม
  7. แก้อาการอาเจียนเป็นเลือด : ใช้เปลือกหุ้มเมล็ดแตงโม 30 กรัม น้ำตาลทรายขาวพอสมควร ต้มดื่มเฉพาะน้ำวันละ 2 ครั้ง

กล้วยน้ำว้า

ลักษณะทั่วไปของกล้วยน้ำว้า

           กล้วยเป็นพืชล้มลุกมีลำต้นอยู่ใต้ดิน เรียกว่า เหง้า ส่วนลำต้นบนดินเกิดจากกาบใบมาหุ้มซ้อนกันเป็นลำต้น ใบเป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่และยาว ผิวใบด้านบนเรียบเป็นมัน ท้องใบมีสีนวล ดอกออกเป็นช่อเรียกว่า หัวปลี แต่ละช่อย่อยประกอบด้วยใบประดับขนาดใหญ่มีมีสีม่วงแดงหุ้มอยู่   ผลรวมกันเป็นเครือแต่ละเครือจะมีหวีหลายๆ อันมารวมกัน

สรรพคุณและประโยชน์ของกล้วยน้ำว้า


  1. ใช้รักษาอาการท้องเดิน :  โดยใช้กล้วยดิบทั้งเปลือกฝานบาง ๆ ผึ่งลมให้แห้ง ใช้รับประทาน ครั้งละ 1/2 - 1 ผล
  2. ยาระบาย :   ผลกล้วยสุกงอมรับประทานก่อนนอนครั้งละ 2 ผล ติดต่อกัน หลายๆ วัน จะช่วยระบาย
  3. ยาแก้ท้องเสีย :   ผลกล้วยห่าม รับประทานครั้งละ 2 ผล เมื่อเกิดอาการท้องเสียเล็กน้อย หากถึงระดับท้องร่วงที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ ให้ใช้กล้วยดิบ 1 ผล หั่นเป็นแว่น ตากแห้ง บดเป็นผง ชงน้ำร้อนดื่ม
  4. ห้ามเลือด :  ใช้ยางกล้วยจากก้านใบ หยอดลงใส่แผลห้ามเลือดได้
  5. ขับปัสสาวะ :  เหง้าหรือลำต้นใต้ดินของต้นกล้วย ใช้ 1 กำมือล้างน้ำให้ สะอาด นำมาต้มกับน้ำให้เดือด 5 -10 นาที ดื่มแต่น้ำวันละ 4 ครั้ง
  6. โรคกระเพาะ :  นำผลกล้วยดิบมาฝานเป็นแว่นบาง ๆ ตากแดดให้แห้งบดเป็นผงชงดื่มกับน้ำต้มสุก รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ ก่อนอาหารครึ่งชั่วโมงและก่อนนอน
  7. บำรุงน้ำนม :  ใช้หัวปลี แกงเลียง รับประทานหลังคลอด
  8. ส้นเท้าแตก :  ใช้เปลือกกล้วยสุก เมื่อรับประทานเนื้อแล้วใช้ส่วนที่ติดกับเนื้อ ทาถูบริเวณส้นเท้า วันละ 4 - 5 ครั้ง ทำติดต่อกัน 4 - 5 วัน รอยแตกจะหายไป

วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

สตรอเบอร์รี่

ลักษณะทั่วไปของสตรอเบอร์รี่

         "สตรอเบอร์รี่" อีกหนึ่งผลไม้เมืองหนาวที่มีประโยชน์รวมถึงสรรพคุณที่จัดว่ายาได้ทีเดียวค่ะ สำหรับประโยชน์ของสตรอเบอร์รี่นั้น มีมากมายโดยเฉพาะสาว ๆ ด้วยนิยมรับประทาน สตรอเบอร์รี่ กันมากเลยทีเดียวค่ะ ประโยชน์ของสตรอเบอร์รี่ นอกจากจะดูแลในเรื่องผิวพรรณแล้ว ประโยชน์ของสตรอเบอร์รี่ ยังมักจะนำไปทำอาหารต่าง ๆ ที่แสนอร่อยอีกด้วย อาทิเช่น ไอศกรีม ขนมอบแห้ง เค้ก ฯลฯ และ สรรพของสตรอเบอร์รี่ ก็ยังช่วยรักษาโรคทำให้เราสุขภาพดีได้อีกด้วย

สรรพคุณและประโยชน์ของสตรอเบอร์รี่


  1.  ดูแลสายตา : ปัญหาเกี่ยวกับดวงตาส่วนใหญ่จะเกิดจากอนุมูลอิสระและการขาดสารอาหารบางชนิด และเมื่อเราอายุมากขึ้นดวงตาของเรายิ่งถูกทำร้ายได้ง่าย ซ้ำร้ายความแก่ชราจะทำให้กล้ามเนื้อดวงตาเสื่อมสภาพ แต่สตรอเบอร์รี่มีสารต้านอนุมูลอิสระอย่างวิตามินซี ฟลาโวนอยด์ กรดฟีโนลิก และกรดเอลลาจิก ซึ่งช่วยชะลอกระบวนการดังกล่าว แถมยังมีโพแทสเซียมซึ่งช่วยปรับความดันในตาให้เป็นปกติอีกด้วย
  2. ป้องกันโรคข้ออักเสบและโรคเกาต์ : เมื่อกล้ามเนื้อถูกใช้งานนาน ๆ เข้า กล้ามเนื้อของเราก็มีแต่จะถดถอยของเหลวบริเวณข้อต่อกระดูก็จะเหือดแห้งลงไป เรื่อย ๆ และร่างกายก็สะสมสารพิษอย่างกรดยูริกเอาไว้มากขึ้น ๆ ทำให้โรคข้ออักเสบและโรคเกาต์ถามหา แต่อย่าห่วงไปเพราะเราสามารถขับไล่โรคทั้งสองได้ด้วยสารต้านอนุมูลอิสระและ สรรพคุณล้างพิษของสตรอเบอร์รี่
  3. กำหราบโรคมะเร็ง : กินสตรอเบอร์รี่ทุกวันสิคะเซลล์มะเร็งและเนื้องอกต้องชิดซ้ายหลีกทางให้แก่ สารต้านอนุมูลอิสระอย่างวิตามินซี โฟเลต และแอนโธไชยานินส์ที่มีอยู่มากมายในสตรอเบอร์รี่
  4. ส่งเสริมการทำงานของสมอง : ยิ่งแก่ยิ่งขี้หลงขี้ลืมเพราะเนื้อเยื่อและเส้นประสาทในสมองเสื่อมสภาพ จากอนุมูลอิสระตัวร้าย ซึ่งสตรอเบอร์รี่ช่วยได้เพราะมีวิตามินซี และไฟโตนิวเทรียนต์ ที่ทำให้อนุมูลอิสระหมดฤทธิ์ และคืนความอ่อนเยาว์ให้แก่ระบบประสาทแถมยังมีไอโอดีนที่ทำให้สมองและระบบ ประสาททำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย
  5. ลดความดันโลหิต : หากโซเดียมเป็นตัวการทำให้เกิดความดันโลหิตสูง สตรอเบอร์รี่ก็มีโพแทสเซียมและแมกนีเซียมที่ช่วยปรับความดันให้เป็นปกติ
  6. ปราบโรคหัวใจ : ใยอาหาร โฟเลต และสารต้านอนุมูลอิสระมากมายจะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในร่างกาย แถมวิตามินบีบางชนิดที่พบได้ในสตรอเบอร์รี่จะเสริมสร้างกล้ามเนื้อหัวใจให้ แข็งแรงอีกด้วย

มังคุค

ลักษณะทั่วไปของมังคุค

         ผลมังคุดนั้นได้ชื่อว่า เป็นราชาผลไม้ของโลกในเปลือกมังคุดมี แทนนิน เป็นสารรสฝาดที่มีฤทธิ์ชอบสมานมีฤทธิ์ตกตะกอนโปรตีนและฆ่าเชื้อโรค เปลือกมังคุดยังมีสารตัวอื่น ๆ ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชลอความชราของเซลล์ทำลายสารพิษที่จะเข้ามาทำร้ายเซลล์
       การใช้เปลือกมังคุดที่มีรสฝาดจึงช่วยสมานผิวทำให้รูขุมขนกระชับ โอกาสที่เชื้อโรคและสารพิษจะแทรกเข้าสู่ผิวหนังผ่านทางรูขุมขนก็ยากขึ้น อีกทั้งช่วยกระตุ้นให้เซลล์ Phagocyte ในร่างกายที่ทำหน้าที่ทำลายเชื้อแบคทีเรียซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยการเกิด สิว ตุ่มคัน และ กลิ่นตัว มีประสิทธิภาพดีขึ้น

สรรพคุณและประโยชน์ของเปลือกมังคุค


  1. รักษาอาการท้องเสีย  : ใช้เปลือกผลแห้งครึ่งผลต้มกับน้ำดื่มแต่น้ำหรือใช้เปลือกผลแห้งย่างไฟให้ เกรียมฝนกับน้ำปูนใส 1/3 แก้ว รับประทานทุก ๆ 3 ชั่วโมง ใช้เปลือกผลตากแห้งฝนกับน้ำให้เด็กดื่มครั้งละ 1-2 ช้อนชา ทุก 4 ชั่วโมง และผู้ใหญ่ ครั้งละ 4 ช้อนโต๊ะ ทุก 4 ชั่วโมง
  2. แก้บิด :  ใช้เปลือกผลแห้งประมาณครึ่งผล (4 กรัม) ย่างไฟให้เกรียมฝนกับน้ำปูนใส่ประมาณครึ่งแก้วดื่มทุกชั่วโมง ยางที่ได้จากผลใช้ยางสด (สีเหลือง) ใช้เป็นยาแก้บิด ท้องร่วงและช่วยสมานแผลได้ดี
  3. โรคผิวหนัง : ใช้ เปลือกมังคุดรักษาโรคผิวหนัง เช่น กลากเกลื้อนบรรเทาอาการผดผื่นทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ได้เป็นอย่างดีโดยใช้ เปลือกมังคุดแห้งต้มน้ำอาบหรือใช้น้ำต้มเปลือกมังคุดทาบริเวณที่มีอาการ
  4. ทำเครื่องสำอาง  : ปัจจุบันวงการเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดได้ให้ความสนใจ นำสารสกัดจากเปลือกมังคุดไปใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น สบู่เปลือกมังคุดที่ช่วยดับกลิ่นตัวช่วยบรรเทาโรคผิวหนังรักษาสิวฝ้าซึ่งใช้ ได้ผลดีและเป็นที่นิยมของผู้บริโภค

มะนาว

ลักษณะทั่วไปของมะนาว

           ลักษณะทั่วไปของมะนาวเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กทรงพุ่ม ตัวใบรูปร่างกลมรี ขอบใบหยักเล็กน้อย ปลายและโคนใบมน ดอกเล็กสีขาวอมเหลืองกลิ่นหอมอ่อนๆ ผลกลมเปลือกบางเรียบ มีน้ำชุ่มมาก รสเปรี้ยว เปลือกผลมีน้ำมัน กลิ่นหอม รสขม สามารถปลูกได้ในดินทุกชนิด โดยเฉพาะดินร่วนซุยและระบายน้ำได้ดี ควรปลูกในฤดูฝนช่วงที่ปลูกใหม่ ๆ ต้องรดน้ำทุกวันและไม่ควรโดนแดดมาก  
        โดยมี ความเชื่อตามตำราพรหมชาติฉบับหลวงกล่าวไว้ว่า มะนาวเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งที่ควรปลูกไว้ในบริเวณบ้าน กำหนดปลูกทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ (พายัพ) เพื่อผู้ที่อยู่อาศัยในบ้านจะได้มีความสุขสวัสดี
        มะนาว เป็นผลไม้ที่มีกรดอินทรีย์หลายชนิด เช่น กรดซิตริก กรดมาลิค วิตามินซี ซึ่งได้จากน้ำมะนาว ส่วนน้ำมันหอมระเหยจากผิวมะนาวมีวิตามินเอและซี รวมทั้งมีธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูงกว่าในน้ำมะนาว มีสรรพคุณทางยาคือ เปลือกผล มีรสขม ช่วยขับลม รักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด

สรรพคุณและประโยชน์ของน้ำมะนาว


  1. ซึ่งมีคุณค่าทางโภชนาการเป็นที่รู้จักกันดี : คือ มีวิตามินซีสูงมาก รักษาโรคเลือดออกตามไรฟันได้ดี นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ด้านความงามโดยเอาเปลือกที่บีบเอาน้ำออกแล้วนำมาทา บริเวณข้อศอก คาง เข่า ฝ่าเท้า ส้นเท้า จะช่วยให้ส่วนเหล่านั้นนุ่มนวลได้อย่างดี
  2. สำหรับใบหน้า : สามารถแก้สิวฝ้าได้ ในกรณีที่สิวไม่มีการอักเสบติดเชื้อเป็นหนองซึ่งมะนาวจะช่วยรักษาสิวให้ลด น้อยลงได้ เพราะน้ำมะนาวมีสภาวะเป็นกรดอ่อน ๆ จะทำให้เนื้อเยื่อที่ตายแล้วหลุดออกไปทำให้ลดการอุดตันของรูขุมขนช่วยกำจัด เชื้อโรคและไขมันได้ด้วย การใช้แป้งดินสอพองกับน้ำมะนาวทาบริเวณที่เป็นสิวก่อนนอนทุกวัน สิวจะค่อย ๆ ยุบหายไปในที่สุดส่งผลให้ใบหน้าสวยใส